วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Design Culture

 

ดีไซน์ คัลเจอร์

     ใน สังคมไทย “ดีไซน์” หรือการออกแบบ มักจะถูกจัดวางไว้สำหรับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการมัณฑนากร สถาปนิก หรือกราฟิกดีไซน์ ผลของการจัดวางตำแหน่งแห่งที่เช่นนี้ ทำให้ “ดีไซน์” อยู่นอกเหนือความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ต่างจากชุดความรู้ของวิชาชีพเฉพาะทางหรือ “ช่าง” ในสาขาต่างๆ เช่น แพทย์ วิศวกร นักกฎหมาย หรือแม้แต่ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์ เมื่อคอลัมน์ดีไซน์ คัลเจอร์ ของประชา สุวีรานนท์ เริ่มปรากฏในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2549 มองเผินๆ คอลัมน์นี้ก็คงเป็นเพียงเรื่องราวของคนในวิชาชีพออกแบบโฆษณา เพราะผู้เขียนก็เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ และเรื่องราวที่เขียนถึงก็คือความเป็นไปในวงการโฆษณา
แต่เมื่ออ่าน ให้ลึกลงไป เราจะพบว่าดีไซน์ คัลเจอร์ มิได้เป็นเพียงข้อเขียนเกี่ยวกับเทคนิค วิธีการในการทำงานด้านการออกแบบของผู้มีประสบการณ์เท่านั้น หากดีไซน์ คัลเจอร์ พยายามจะบอกเราว่าในการทำงานสร้างสรรค์นั้น วิธีคิด วิธีมองโลกที่อยู่เบื้องหลังย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งสำคัญเสียยิ่งกว่าการรู้เทคนิควิธีการที่ดี หรือการเข้าถึงเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพใดๆ โดยเฉพาะหากคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีหรือ “จับใจ” ผู้คน นอกจากนี้ดีไซน์ คัลเจอร์ ยังพาดพิงไปถึงข้อคำนึงเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของศิลปะอันเป็นประเด็นสำคัญ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในแง่ที่ว่าศิลปะควรจะดำรงอยู่เพื่อศิลปะเอง หรือควรจะเป็นไปเพื่อสิ่งอื่นๆ นอกเหนือตัวศิลปะด้วย (เป็นต้นว่า สังคม) กล่าวคือในเรื่องปัญหาความสมดุลระหว่างความงามกับจุดหมายหรือรูปแบบกับ เนื้อหานั่นเอง เช่นเราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องเส้นแบ่งระหว่าง “ศิลปะ” กับ “พาณิชย์” ของงานกราฟิกดีไซน์
ดี ไซน์ คัลเจอร์ ยังชี้ชวนให้เราเห็นถึงสิ่งที่กว้างไกลไปกว่าเรื่องของการออกแบบ โดยมองผ่านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสำนึกเกี่ยวกับตัวตน การสร้างความรับรู้และรูปการณ์จิตสำนึก มิติของอุดมการณ์ การเมืองและวัฒนธรรม ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่ง นี่คือการวิเคราะห์สังคมอย่างลุ่มลึกโดยมองผ่านงานดีไซน์ แต่ด้วยธรรมชาติของการสร้างงานดี ไซน์ ที่ถูกเรียกร้องให้ต้องมีความเฉพาะตัวในความหมายของการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ตลอดเวลา และต้องอาศัยสัมผัสที่ไวต่อการจับอารมณ์ความรู้สึกหรือวิธีคิดของสังคมใน ช่วงนั้นๆ เพื่อให้บรรลุเป็นชิ้นงานที่จะสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของความงามที่สัมพัทธ์ปรับเปลี่ยนไปกับยุคสมัย และในแง่ของสารที่หวังผลในการชักจูงใจ

อ้างอิง : http://koonkhun.multiply.com/journal/item/21/21

 ตัวอย่าง Design Culture


เก้าอี้ลายไทย

นิทรรศการ “สมองแจ่ม”จะนำเสนอให้เห็นถึงพรสวรรค์ของนักสร้างสรรค์ไทยผนวกกับศักยภาพใน การช่วยกันสร้างผลงานและโอกาสขับเคลื่อนสังคมโลกเป็นตัวอย่างอันดีที่จะทำ ให้ผู้สร้างสรรค์ผลงาน  อีกมากมายได้รู้สึกมั่นใจ และมีความภาคภูมิใจที่จะกล้าขับเคลื่อนมิติต่างๆออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป โดยการนำเสนอผ่านผลงานของศิลปิน นักออกแบบมากฝีมือ จำนวน ๙ คน ได้แก่ เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์,   ปัญญา วิจินธนสาร , ไพเวช วังบอน , วัชรมงคล เบญจธนฉัตร์  , จิตต์สิงห์  สมบุญ  , 
ชัยยุทธ์  พลายเพ็ชร์  , ปริญญา โรจน์อารยานนท์  , วศินบุรี  สุพานิชวรภาชน์  , วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์

อ้างอิง : http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2401

 
พระเครื่อง

http://www.tcdcconnect.com/content/blog/wp-content/uploads/2010/08/Believe2.jpg


 รูปเคารพ – สัญลักษณ์และคุณค่าที่ออกแบบได้
สำหรับชาวพุทธแล้ว “พระพุทธรูป” เปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์ขององค์พระศาสดา มีขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกถึงศาสนา แต่เมื่อสืบประวัติย้อนไปในครั้งโบราณ กลับพบว่าในสมัยพระพุทธกาลนั้นไม่มีการบูชารูปเคารพแต่อย่างใด หรือแม้แต่ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีมาก่อนศาสนาพุทธ เขาก็ไม่มีรูปเคารพเช่นกัน ที่ทราบมาคือหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในหลักธรรมของพระองค์ได้นำเอาสิ่งของ อันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่งก้านใบโพธิ์จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่ปฐมเทศนา (พาราณสี) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา) มาเก็บไว้เป็นที่ระลึกบูชาก็เพียงเท่านั้น จนกระทั่งราวพุทธศักราชที่ 500 ถึง 550 เมื่อพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 กษัตรย์ชาวกรีก ยกทัพเข้าครอบครองแคว้นคันธาราฐ พระองค์ได้เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงนำศิลปะกรีกมาสร้างแบบจำลองพระพุทธเจ้าขึ้นเป็นครั้งแรก
 การ กำเนิดของพระพุทธรูปถือว่าเป็น ตัวอย่างของการแปร “ความรู้สึกในใจ” อันเป็นนามธรรม มาสู่ “สัญลักษณ์” ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ศรัทธาสามารถสัมผัสมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น นัยสำคัญของ “การแปร” นี้เองที่ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปจำลองขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยมีขนาด รูปแบบ และศิลปะการสร้างที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในโบสถ์ พระพุทธรูปองค์เล็กลงมาสำหรับตั้งบนโต๊ะหมู่บูชา หรือพระพุทธรูปองค์จิ๋วในรูปแบบของ “พระเครื่อง” เอาไว้แขวนหรือพกติดตัว
อ้างอิง : http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=5807#more-5807


ลูกประคบ


 




 Experience Natural Balance with Lanna Culture” หรือ การสร้างสมดุลโดยเอาธรรมชาติและวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพ ที่นำเอาอัตลักษณ์ล้านนา ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไปผนวกกัน ทั้งการนวดตอกเส้น การใช้ท่านวด การนำน้ำมันนวดกลิ่นสมุนไพรแบบล้านนา
 เป็นการนำไปประยุกต์ในสปา หรือเพื่อความงาม และชาวชาติก็สนใจมากด้วย มามัดมาผูกลูกประคบ  และศึกษาลึกเลยว่าลูกประคบนี้ช่วยรักษาการปวดเมื่อย และเคล็ดขัดยอก เจ็บปวด

อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/akom/2010/09/02/entry-1
 ผีตาโขน
<><>
          จากรูปลักษณ์เด่นสะดุดตาของบรรดาผีตาโขนใน 2 ยุค 2 สมัยที่ยืนประจันหน้ากับเรา สิ่งที่สังเกตได้ คือ หน้ากากและเครื่องแต่งกายของผีตาโขนแบบเก่าสมัยอดีตจะเน้นความเรียบง่าย พอวันเวลาก้าวกระโดดไปข้างหน้า ผีตาโขนก็ (จำต้อง) แปรเปลี่ยนตาม ประเพณีผีตาโขนในท้องถิ่นจึงกลายมาเป็นเทศกาลผีตาโขนในระดับจังหวัด โดยมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นโต้โผในการบริหารจัดการ ทำให้รูปแบบของหน้ากาก เครื่องแต่งกาย และสีสันโดยรวมของผีตาโขนสมัยใหม่ดูเปรี้ยวฉูดฉาด เด่นสะดุดตามากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


ศาลพระภูมิ


modern.jpg 


เพื่อตอบสนองทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานและรสนิยม ทุกวันนี้ใช่ว่าจะมีแต่การออกแบบ “ที่พักอาศัยสำหรับมนุษย์” เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป หากแต่ “ศาลพระภูมิ” สถานที่สถิตย์ของพระภูมิเจ้าที่ (ผู้ปกปักรักษาเจ้าของบ้าน ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู) ก็ได้วิวัฒนาการไปตามกาลเวลาอย่างน่าทึ่งไม่แพ้กันเคยมีผู้อ่านขอคำปรึกษาใน นิตยสาร Casa Viva ฉบับเดือน เม.ย. ปี 2008 ว่า กำลังสร้างบ้านแบบโมเดิร์น แต่ไม่สามารถหาซื้อศาลพระภูมิที่มีลักษณะโมเดิร์นเข้ากับแบบบ้านได้ ซึ่งทางนิตยสาร Casa Viva ก็ได้สเก็ตช์ภาพตัวอย่าง “ศาลพระภูมิโมเดิร์น” ไว้ให้เป็นคำตอบ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำเอาภาพสเก็ตช์ไปสั่งทำเป็นของจริงด้วย
อย่างไรก็ดี ณ เวลานี้ บรรดาเจ้าของบ้านโมเดิร์นอาจจะได้เห็นวิวัฒนาการของศาลพระภูมิรูปแบบใหม่ๆ ที่รีดเอาความคิดสร้างสรรค์ของหลายฝ่ายมาออกแบบบ้านเล็กๆ หลังนี้ ให้เข้ากับสิ่งปลูกสร้างในยุคปัจจุบันมากขึ้น อย่างกรณีล่าสุด ศาลพระภูมิของ The Scenery Resort จ. ราชบุรี ก็มาในรูปแบบอาคารปูนเปลือยสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน มีดาดฟ้าและหลังคามุงจาก (แทนหลังคาและหน้าจั่วประดับช่อฟ้าแบบศาลพระภูมิดั้งเดิม) ดูแล้วแสนจะเข้ากันกับสไตล์การตกแต่งของรีสอร์ท จนทำให้บางคนถึงกับตั้งคำถามว่า แล้วท่านพระภูมิเจ้าที่ยังจะคอยอยู่ปกปักรักษาเราหรือไม่ เพราะท่านอาจจะกำลังพักร้อนอยู่ก็เป็นได้?
นอกจากนี้ ศาลพระภูมิของอาคารสำนักงานหลายแห่งในปัจจุบัน ก็ได้ถูกประยุกต์ดัดแปลงให้เข้ากับตัวอาคารมากขึ้น ไม่ว่าจะในด้านวัสดุหรือสไตล์การออกแบบ อย่างเช่น การหันมาใช้แก้วเป็นวัสดุหลักแทนที่จะใช้ปูนหรือไม้ การเปลี่ยนรูปแบบของศาลพระภูมิมาเป็นแนวมินิมัลลิสม์ ฯลฯ  ซึ่งความแปลกใหม่ของทิศทางการออกแบบศาลพระภูมินี้ถือว่ากำลังได้รับความ สนใจอย่างมาก ทั้งจากนักออกแบบ นักวิชาการ สื่อมวลชน และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังจะเห็นได้จากการประชันฝีมือด้านความคิดและความสามารถทางการออกแบบใน รายการคิดข้ามเมฆ ที่ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแข่งขันกันออกแบบศาลพระภูมิรูปแบบใหม่ให้ กับ ลาเอนาตู รีสอร์ท ปราณบุรี โดยมีโจทย์อยู่ว่า ศาลพระภูมิจะต้องมีความสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติและตัวรีสอร์ท และต้องทำจากวัสดุที่กำหนดให้เท่านั้น 
ณ วันนี้ การออกแบบศาลพระภูมิยุคใหม่ดูจะเป็นเรื่อง “น่าสนุก” สำหรับทั้งนักออกแบบและเจ้าของอาคารบ้านเรือน (ที่หัวก้าวหน้าหน่อย) แต่ในอนาคตไม่ใกล้ไม่ไกล เชื่อว่าความเคลื่อนไหวอันนี้จะเติบโตขยายวงขึ้น ถึงขั้นที่ว่าผู้คนในแวดวงการออกแบบ และในอุตสาหกรรมการผลิตศาลพระภูมิ จะต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติความคิดกันครั้งใหญ่ เพื่อปรับโมเดลการทำธุรกิจ (ที่เหมือนจะเล็กแต่ไม่เล็กนี้) ให้มีความเหมาะสมลงตัว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคยุคใหม่ได้ …ภายใต้ความเชื่อเก่าๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

อ้างอิง : http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=4438#more-4438

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สวนสราญรมญ์

สวนสราญรมย์-สวนสาธารณะใจกลางเมือง
เป็นเสน่ห์ที่สร้างให้พระราชอุทยานในอดีตกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในรูป "สวนศิลปวัฒนธรรม"
จุดที่น่าสนใจในสวน   

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2426 เป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก อาลัยที่พระองค์มีต่อพระอัครมเหสี และพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ผู้สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม สร้าง ณ บริเวณที่พระนางเคยทรงพระสำราญ เมื่อครั้งทรงมีพระชนม์ชีพ มีพื้นที่ 176079 ตารางเมตร อนุสาวรีย์ทำด้วยหินอ่อนบอกเล่า คำจารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของพระองค์จากการสูญเสียในครั้งนั้น

ศาลาเรือนกระจก   ตึกโถงชั้นเดียวกรุกระจก มีดาดฟ้าตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลาย วิจิตร ใน พ.ศ. 2447 เป็นที่ตั้งของทวีปัญญาสโมสร และโรงละครทวีปัญญา เป็นสโมสรแบบตะวันตกของเจ้านายและข้าราชกาชั้นสูง มีการออกหนังสือทวีปัญญารายเดือน การเล่นกีฬาในร่มและกลางแจ้ง ละครพูด และห้องอ่านหนังสือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรเรียน ต้นไม้กทม. ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

ศาลากระโจมแตร งดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม ใช้บรรเลงแตรวงทหารเรือ และดนตรีอื่น เวลามีงานเลี้ยงบริเวณพระราชอุทยาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6   ครั้งทรงดำรงพระอิสริยายศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร










ศาลาแปดเหลี่ยม เป็นศาลาพักผ่อน แสดงลักษณะสถาปัตย- กรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่   5

ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง คือ เก๋งจีนในอดีตเมื่อครั้งสร้างสวน

ระตูลายพันธุ์พฤกษาพร้อมซุ้มประตู ได้รับการ อนุรักษ์ขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร เช่นสิ่งก่อสร้างอื่นในสวน มีลวดลายที่ประณีตอ่อนช้อย  

น้ำพุพานโลหะ น้ำพุสไตล์ยุโรป โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ เป็นองค์ประกอบตกแต่งพระราชอุทยานในอดีต

ต้นจำปาเทศ ( Pterospermum acerifolium ) พันธุ์ไม้ หายากของไทยที่อนุรักษ์ไว้ ปลูกอยู่ข้างอาคารเรือนกระจก ดอกมี ลักษณะแปลกสวยสะดุดตามีกลิ่นหอม ออกดอกราวเดือน ม.ค.-ก.พ.

ดนตรีในสวน การแสดงดนตรีไทย สากล สลับหมุนเวียนกับสวน สาธารณ อื่นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะแสดงในช่วงเวลาเย็น
 
นันทนาการในสวน จัดให้มีการนำเต้นแอโรบิคทุกวันตอนเย็น ซึ่งมีประชาชนสนใจมาก


แผนที่สวนสราญรมย์


 " ท่องเที่ยวไทย ไปผ่อนคลาย ณ สวนสราญรมย์ "

อ้างอิง : www.yourhealthyguide.com/parks/park-saranrom.htm



วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะไทย

ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่ เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย
เมื่อเราได้สืบค้นความเป็นมาของสังคมไทย พบว่าวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคม หนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทย
ปัจจุบันคำว่า "ศิลปะไทย" กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสน อยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็น เอกลักษณ์ของชาติ
เมื่อเราหันกลับมามองตัวเราเองใหม่ ทำให้ดูห่างไกลเกินกว่าจะกลับมาเรียนรู้ว่า พื้นฐานของชาติบ้านเมืองเดิมเรานั้น มีความเป็นมาหรือมีวัฒนธรรมอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้เราลืมมองอดีตตัวเอง การมีวิถีชีวิตกับสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าเรามีปัจจุบันโดยไม่มีอดีต เราก็จะมีอนาคตที่คลอนแคลนไม่มั่นคง การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยเราชาวศิลปะต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต

เนื้อหา

[ซ่อน]

ความเป็นมาของศิลปะไทย

ไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน ละมุนละไม และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป

ลักษณะของศิลปะไทย

ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใน สังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่ สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
ภาพไทย หรือ จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
  1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
  2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
  3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
  4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น
  5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น
ภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก" หมายถึงลวดลาย เช่น กระหนกลาย กระหนกก้านขด ต่อมามีคำใช้ว่า "กนก" หมายถึง ทอง กนกปิดทอง กนกตู้ลายทอง แต่จะมีใช้เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งคำเดิม "กระหนก" นี้เข้าใจเป็นคำแต่สมัยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี โดยเรียกติดต่อกันจนเป็นคำเฉพาะ หมายถึงลวดลายก้านขด ลายก้านปู ลายก้างปลา ลายกระหนกเปลว เป็นต้น การเขียนลายไทย ได้จัดแบ่งตามลักษณะที่จัดเป็นแม่บทใช้ในการเขียนภาพมี 4 ลาย ด้วยกัน คือลายกระหนก ลายนารี ลายกระบี่และลายคชะ เป็นต้น

ความมุ่งหมายของภาพไทย

  1. เป็นภาพเล่าเรื่องให้ผู้ดูและผู้ชมเข้าใจ และเกิดสุนทรียภาพเมื่อรับรู้ความงาม ทางศิลปกรรม
  2. เป็นการประดับตกแต่ง อาคาร โบสถ์ วิหารและ ปราสาทราชวัง เพื่อให้ เกิดบรรยากาศแห่งความงาม

สืบสานความเป็นมาของศิลปินไทย

ช่างไทยสมัยโบราณมักจะเขียนภาพ โดยไม่บอกนามให้ปรากฏ การสืบค้น ศิลปินไทยที่เป็นครูช่างจึงยาก ลำบาก เท่าที่บอกเล่าจากปากต่อปากพอ จะจำกล่าวขานได้บ้างก็คือ ครู คงแป๊ะกับครูทองอยู่ที่เขียนภาพ ไทยอย่างวิจิตรภายในพระอุโบสถ์วัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ก่อน หน้าครูทั้งสองคิดว่าช่างไทย เขียนด้วย ความศรัทธาทางศาสนา อุทิศเวลาความสามารถ เพื่อผลกรรมดีของตนที่สร้าง ไว้เพื่อบุญในภพหน้า ถึงแม้จะเขียน ในที่เล็ก ๆ แคบ ๆ มืด ๆ โดยใช้คบไฟส่องเขียน ก็ยังอดทนพยายามอุทิศเวลาเขียน ได้จนสำเร็จ เช่น ภายในกรุ พระปรางค์ พระเจดีย์ ในโบสถ์และวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัติวงศ์ ขณะพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ชอบ เดินดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ผนังระเบียง คดวัดพระแก้ว เมื่อกลับถึงพระตำหนัก ก็ทรงใช้ดินสอขาวเขียนภาพที่ ทรงจำได้เหล่านั้น มาเขียนไว้บน บานตู้ไม้ และครั้งหนึ่งพระองค์ยังทรง พระเยาว์เช่นกัน ได้ตามเสด็จประพาสต้น ของพระปิยะมหาราชไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเมื่อเสด็จไปถึงจังหวัด กาญจนบุรี ครั้งนั้นคงเป็นป่าที่สมบูรณ์ มี พันธุ์ไม้ มีสัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวย งาม ณ น้ำตกบริเวณพลับพลาที่พัก ใกล้น้ำตกไทรโยคนั้นเป็นที่รับแรง บันดาลใจจากธรรมชาติที่ร่มรื่น น้ำ ตกที่ไหลลงกระแทกกับโขดผาด้าน ล่าง เสียงร้องของสัตว์นานาชนิด ๆ ไม่ว่าจะ เป็นนกยูงหรือสัตว์อื่น ๆ ผสมผสานกับแรง ของน้ำตกและธรรมชาติงาม ทำให้ พระองค์ท่าน แต่งเพลงเขมรไทรโยคขึ้น สำเร็จ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้อง ทำนอง จังหวะลีลา ขับร้องฟังแล้วกินใจประทับใจ มิรู้ ลืมจนกลายเป็นเพลงไทยอมตะมาจน ถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระองค์เจริญพระชันษา พระองค์ก็ยังทรงใฝ่หาความรู้ ลักษณะเช่นนี้ตลอดมาจนมีฝีมือ สูงส่งระดับอัจฉริยะ พระองค์ได้คิดออก แบบพระอุโบสถวัดเบญจม-บพิธ โดยนำเอาศิลปะ ไทยเข้าประยุกต์กับปัจจุบันโดยมีหิน อ่อน กระจกสีและกระเบื้องเคลือบผสมผสานอย่าง งามลงตัวจนโครงสร้างพระอุโบสถ หลังนี้เป็นที่แปลกตาแปลกใจสวย งามอย่างมหัศจรรย์ ปัจจุบันเป็นที่ยกย่องว่า เป็นสมเด็จครูแห่งการช่างไทย บรรดาช่างไทยต่อมาได้คิดเพียร พยายามสร้างตำราเกี่ยวกับลายไทยฉบับ สำคัญ ๆ ที่ยึดถือในปัจจุบันขอกล่าวไว้สั้น ๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระเทวาภินิมมิต เขียน "สมุดตำราลาย ไทย"
  2. ช่วง เสลานนท์ เขียน "ศิลปไทย"
  3. พระพรหมพิจิตร เขียน "พุทธศิลปสถาปัตยกรรมภาคต้น"
  4. โพธิ์ ใจอ่อนน้อม เขียน "คู่มือลายไทย"
  5. คณะช่างจำกัด เขียน "ตำราภาพลายไทย"
  6. เลิศ พ่วงพระเดช เขียน "ตำราสถาปัตยกรรมและลาย ไทย"
อ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/ศิลปะไทย