วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Design Culture

 

ดีไซน์ คัลเจอร์

     ใน สังคมไทย “ดีไซน์” หรือการออกแบบ มักจะถูกจัดวางไว้สำหรับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการมัณฑนากร สถาปนิก หรือกราฟิกดีไซน์ ผลของการจัดวางตำแหน่งแห่งที่เช่นนี้ ทำให้ “ดีไซน์” อยู่นอกเหนือความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ต่างจากชุดความรู้ของวิชาชีพเฉพาะทางหรือ “ช่าง” ในสาขาต่างๆ เช่น แพทย์ วิศวกร นักกฎหมาย หรือแม้แต่ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์ เมื่อคอลัมน์ดีไซน์ คัลเจอร์ ของประชา สุวีรานนท์ เริ่มปรากฏในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2549 มองเผินๆ คอลัมน์นี้ก็คงเป็นเพียงเรื่องราวของคนในวิชาชีพออกแบบโฆษณา เพราะผู้เขียนก็เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ และเรื่องราวที่เขียนถึงก็คือความเป็นไปในวงการโฆษณา
แต่เมื่ออ่าน ให้ลึกลงไป เราจะพบว่าดีไซน์ คัลเจอร์ มิได้เป็นเพียงข้อเขียนเกี่ยวกับเทคนิค วิธีการในการทำงานด้านการออกแบบของผู้มีประสบการณ์เท่านั้น หากดีไซน์ คัลเจอร์ พยายามจะบอกเราว่าในการทำงานสร้างสรรค์นั้น วิธีคิด วิธีมองโลกที่อยู่เบื้องหลังย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งสำคัญเสียยิ่งกว่าการรู้เทคนิควิธีการที่ดี หรือการเข้าถึงเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพใดๆ โดยเฉพาะหากคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีหรือ “จับใจ” ผู้คน นอกจากนี้ดีไซน์ คัลเจอร์ ยังพาดพิงไปถึงข้อคำนึงเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของศิลปะอันเป็นประเด็นสำคัญ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในแง่ที่ว่าศิลปะควรจะดำรงอยู่เพื่อศิลปะเอง หรือควรจะเป็นไปเพื่อสิ่งอื่นๆ นอกเหนือตัวศิลปะด้วย (เป็นต้นว่า สังคม) กล่าวคือในเรื่องปัญหาความสมดุลระหว่างความงามกับจุดหมายหรือรูปแบบกับ เนื้อหานั่นเอง เช่นเราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องเส้นแบ่งระหว่าง “ศิลปะ” กับ “พาณิชย์” ของงานกราฟิกดีไซน์
ดี ไซน์ คัลเจอร์ ยังชี้ชวนให้เราเห็นถึงสิ่งที่กว้างไกลไปกว่าเรื่องของการออกแบบ โดยมองผ่านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสำนึกเกี่ยวกับตัวตน การสร้างความรับรู้และรูปการณ์จิตสำนึก มิติของอุดมการณ์ การเมืองและวัฒนธรรม ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่ง นี่คือการวิเคราะห์สังคมอย่างลุ่มลึกโดยมองผ่านงานดีไซน์ แต่ด้วยธรรมชาติของการสร้างงานดี ไซน์ ที่ถูกเรียกร้องให้ต้องมีความเฉพาะตัวในความหมายของการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ตลอดเวลา และต้องอาศัยสัมผัสที่ไวต่อการจับอารมณ์ความรู้สึกหรือวิธีคิดของสังคมใน ช่วงนั้นๆ เพื่อให้บรรลุเป็นชิ้นงานที่จะสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของความงามที่สัมพัทธ์ปรับเปลี่ยนไปกับยุคสมัย และในแง่ของสารที่หวังผลในการชักจูงใจ

อ้างอิง : http://koonkhun.multiply.com/journal/item/21/21

 ตัวอย่าง Design Culture


เก้าอี้ลายไทย

นิทรรศการ “สมองแจ่ม”จะนำเสนอให้เห็นถึงพรสวรรค์ของนักสร้างสรรค์ไทยผนวกกับศักยภาพใน การช่วยกันสร้างผลงานและโอกาสขับเคลื่อนสังคมโลกเป็นตัวอย่างอันดีที่จะทำ ให้ผู้สร้างสรรค์ผลงาน  อีกมากมายได้รู้สึกมั่นใจ และมีความภาคภูมิใจที่จะกล้าขับเคลื่อนมิติต่างๆออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป โดยการนำเสนอผ่านผลงานของศิลปิน นักออกแบบมากฝีมือ จำนวน ๙ คน ได้แก่ เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์,   ปัญญา วิจินธนสาร , ไพเวช วังบอน , วัชรมงคล เบญจธนฉัตร์  , จิตต์สิงห์  สมบุญ  , 
ชัยยุทธ์  พลายเพ็ชร์  , ปริญญา โรจน์อารยานนท์  , วศินบุรี  สุพานิชวรภาชน์  , วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์

อ้างอิง : http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2401

 
พระเครื่อง

http://www.tcdcconnect.com/content/blog/wp-content/uploads/2010/08/Believe2.jpg


 รูปเคารพ – สัญลักษณ์และคุณค่าที่ออกแบบได้
สำหรับชาวพุทธแล้ว “พระพุทธรูป” เปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์ขององค์พระศาสดา มีขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกถึงศาสนา แต่เมื่อสืบประวัติย้อนไปในครั้งโบราณ กลับพบว่าในสมัยพระพุทธกาลนั้นไม่มีการบูชารูปเคารพแต่อย่างใด หรือแม้แต่ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่มีมาก่อนศาสนาพุทธ เขาก็ไม่มีรูปเคารพเช่นกัน ที่ทราบมาคือหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในหลักธรรมของพระองค์ได้นำเอาสิ่งของ อันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่งก้านใบโพธิ์จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่ปฐมเทศนา (พาราณสี) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา) มาเก็บไว้เป็นที่ระลึกบูชาก็เพียงเท่านั้น จนกระทั่งราวพุทธศักราชที่ 500 ถึง 550 เมื่อพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 กษัตรย์ชาวกรีก ยกทัพเข้าครอบครองแคว้นคันธาราฐ พระองค์ได้เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงนำศิลปะกรีกมาสร้างแบบจำลองพระพุทธเจ้าขึ้นเป็นครั้งแรก
 การ กำเนิดของพระพุทธรูปถือว่าเป็น ตัวอย่างของการแปร “ความรู้สึกในใจ” อันเป็นนามธรรม มาสู่ “สัญลักษณ์” ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ศรัทธาสามารถสัมผัสมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น นัยสำคัญของ “การแปร” นี้เองที่ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปจำลองขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยมีขนาด รูปแบบ และศิลปะการสร้างที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในโบสถ์ พระพุทธรูปองค์เล็กลงมาสำหรับตั้งบนโต๊ะหมู่บูชา หรือพระพุทธรูปองค์จิ๋วในรูปแบบของ “พระเครื่อง” เอาไว้แขวนหรือพกติดตัว
อ้างอิง : http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=5807#more-5807


ลูกประคบ


 




 Experience Natural Balance with Lanna Culture” หรือ การสร้างสมดุลโดยเอาธรรมชาติและวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพ ที่นำเอาอัตลักษณ์ล้านนา ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไปผนวกกัน ทั้งการนวดตอกเส้น การใช้ท่านวด การนำน้ำมันนวดกลิ่นสมุนไพรแบบล้านนา
 เป็นการนำไปประยุกต์ในสปา หรือเพื่อความงาม และชาวชาติก็สนใจมากด้วย มามัดมาผูกลูกประคบ  และศึกษาลึกเลยว่าลูกประคบนี้ช่วยรักษาการปวดเมื่อย และเคล็ดขัดยอก เจ็บปวด

อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/akom/2010/09/02/entry-1
 ผีตาโขน
<><>
          จากรูปลักษณ์เด่นสะดุดตาของบรรดาผีตาโขนใน 2 ยุค 2 สมัยที่ยืนประจันหน้ากับเรา สิ่งที่สังเกตได้ คือ หน้ากากและเครื่องแต่งกายของผีตาโขนแบบเก่าสมัยอดีตจะเน้นความเรียบง่าย พอวันเวลาก้าวกระโดดไปข้างหน้า ผีตาโขนก็ (จำต้อง) แปรเปลี่ยนตาม ประเพณีผีตาโขนในท้องถิ่นจึงกลายมาเป็นเทศกาลผีตาโขนในระดับจังหวัด โดยมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นโต้โผในการบริหารจัดการ ทำให้รูปแบบของหน้ากาก เครื่องแต่งกาย และสีสันโดยรวมของผีตาโขนสมัยใหม่ดูเปรี้ยวฉูดฉาด เด่นสะดุดตามากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


ศาลพระภูมิ


modern.jpg 


เพื่อตอบสนองทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานและรสนิยม ทุกวันนี้ใช่ว่าจะมีแต่การออกแบบ “ที่พักอาศัยสำหรับมนุษย์” เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป หากแต่ “ศาลพระภูมิ” สถานที่สถิตย์ของพระภูมิเจ้าที่ (ผู้ปกปักรักษาเจ้าของบ้าน ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู) ก็ได้วิวัฒนาการไปตามกาลเวลาอย่างน่าทึ่งไม่แพ้กันเคยมีผู้อ่านขอคำปรึกษาใน นิตยสาร Casa Viva ฉบับเดือน เม.ย. ปี 2008 ว่า กำลังสร้างบ้านแบบโมเดิร์น แต่ไม่สามารถหาซื้อศาลพระภูมิที่มีลักษณะโมเดิร์นเข้ากับแบบบ้านได้ ซึ่งทางนิตยสาร Casa Viva ก็ได้สเก็ตช์ภาพตัวอย่าง “ศาลพระภูมิโมเดิร์น” ไว้ให้เป็นคำตอบ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำเอาภาพสเก็ตช์ไปสั่งทำเป็นของจริงด้วย
อย่างไรก็ดี ณ เวลานี้ บรรดาเจ้าของบ้านโมเดิร์นอาจจะได้เห็นวิวัฒนาการของศาลพระภูมิรูปแบบใหม่ๆ ที่รีดเอาความคิดสร้างสรรค์ของหลายฝ่ายมาออกแบบบ้านเล็กๆ หลังนี้ ให้เข้ากับสิ่งปลูกสร้างในยุคปัจจุบันมากขึ้น อย่างกรณีล่าสุด ศาลพระภูมิของ The Scenery Resort จ. ราชบุรี ก็มาในรูปแบบอาคารปูนเปลือยสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน มีดาดฟ้าและหลังคามุงจาก (แทนหลังคาและหน้าจั่วประดับช่อฟ้าแบบศาลพระภูมิดั้งเดิม) ดูแล้วแสนจะเข้ากันกับสไตล์การตกแต่งของรีสอร์ท จนทำให้บางคนถึงกับตั้งคำถามว่า แล้วท่านพระภูมิเจ้าที่ยังจะคอยอยู่ปกปักรักษาเราหรือไม่ เพราะท่านอาจจะกำลังพักร้อนอยู่ก็เป็นได้?
นอกจากนี้ ศาลพระภูมิของอาคารสำนักงานหลายแห่งในปัจจุบัน ก็ได้ถูกประยุกต์ดัดแปลงให้เข้ากับตัวอาคารมากขึ้น ไม่ว่าจะในด้านวัสดุหรือสไตล์การออกแบบ อย่างเช่น การหันมาใช้แก้วเป็นวัสดุหลักแทนที่จะใช้ปูนหรือไม้ การเปลี่ยนรูปแบบของศาลพระภูมิมาเป็นแนวมินิมัลลิสม์ ฯลฯ  ซึ่งความแปลกใหม่ของทิศทางการออกแบบศาลพระภูมินี้ถือว่ากำลังได้รับความ สนใจอย่างมาก ทั้งจากนักออกแบบ นักวิชาการ สื่อมวลชน และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังจะเห็นได้จากการประชันฝีมือด้านความคิดและความสามารถทางการออกแบบใน รายการคิดข้ามเมฆ ที่ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแข่งขันกันออกแบบศาลพระภูมิรูปแบบใหม่ให้ กับ ลาเอนาตู รีสอร์ท ปราณบุรี โดยมีโจทย์อยู่ว่า ศาลพระภูมิจะต้องมีความสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติและตัวรีสอร์ท และต้องทำจากวัสดุที่กำหนดให้เท่านั้น 
ณ วันนี้ การออกแบบศาลพระภูมิยุคใหม่ดูจะเป็นเรื่อง “น่าสนุก” สำหรับทั้งนักออกแบบและเจ้าของอาคารบ้านเรือน (ที่หัวก้าวหน้าหน่อย) แต่ในอนาคตไม่ใกล้ไม่ไกล เชื่อว่าความเคลื่อนไหวอันนี้จะเติบโตขยายวงขึ้น ถึงขั้นที่ว่าผู้คนในแวดวงการออกแบบ และในอุตสาหกรรมการผลิตศาลพระภูมิ จะต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติความคิดกันครั้งใหญ่ เพื่อปรับโมเดลการทำธุรกิจ (ที่เหมือนจะเล็กแต่ไม่เล็กนี้) ให้มีความเหมาะสมลงตัว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคยุคใหม่ได้ …ภายใต้ความเชื่อเก่าๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

อ้างอิง : http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=4438#more-4438

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น